เรื่องต้องรู้ของเขยต่างชาติที่อยากกู้ซื้อคอนโด

Share on Facebook
Share on Twitter

เขยต่างชาติ ชาวต่างชาติที่มีภรรยาเป็นคนไทยกำลังวางแผนจะซื้อคอนโดเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะซื้อเพื่อปล่อยเช่าหรือเอาไว้อยู่เอง นอกจากการเตรียมเงินและเอกสารต่างๆ ทั้งของคุณแม่บ้านและตัวเขยต่างชาติเองแล้ว ยังมีรายละเอียดที่ชาวต่างชาติต้องรู้ไว้ด้วย 

เรื่องเอกสารต่างๆ ที่ต้องเตรียม สามารถอ่านได้จากบทความของเราก่อนหน้านี้ เขยต่างชาติอยากซื้อคอนโด ต้องเตรียมตัวยังไง ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่เขยต่างชาติต้องรู้ก่อนจะมีคอนโดเป็นของตัวเองสักห้องมีดังต่อไปนี้

1.รู้เรื่องอัตราส่วนการถือครองคอนโดของชาวต่างชาติ (FOREIGNER QUOTA)

หากคุณเขยต่างชาติรู้สึกถูกใจคอนโดโครงการไหนก็ตาม ต้องรีบเตรียมตัวและรีบตัดสินใจซื้อเลย ก็เพราะว่าตามพรบ.อาคารชุดแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 อนุญาตอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ต่างชาติสูงสุด 49% ของพื้นที่ขายทั้งหมดของโครงการนั้นๆ นั่นหมายความว่าหากคอนโดโครงการที่เขยต่างชาติเล็งอยู่มีทั้งหมด 100 ห้อง มีเพียง 49 ห้องเท่านั้นที่คุณจะเป็นเจ้าของได้ ดังนั้นหากมีชาวต่างชาติคนอื่นสนใจคอนโดโครงการเดียวกับคุณเป็นจำนวนมากก็มีสิทธิ์ที่คุณจะชวดคอนโดโครงการนี้ได้

2.รู้ว่าต้องชำระเงินผ่านระบบ Telegraphic Transfer (T/T)

เขยต่างชาติจำเป็นต้องรู้ว่าการชำระเงินเมื่อซื้อขายคอนโดนั้นต้องโอนแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศจากบัญชีธนาคารต่างประเทศที่เรียกว่า “Telegraphic Transfer (T/T)” หรือ “Swift Code” เข้ามาที่บัญชีในประเทศไทยโดยไม่มีข้อยกเว้น จากนั้นค่อยโอนเงินต่างประเทศนั้นๆ แลกเปลี่ยนเงินตราเป็นสกุล “บาท” โดยธนาคารสัญชาติไทยอีกครั้ง โดยต้องระบุวัตถุประสงค์ในการโอนเงินให้ชัดเจน รวมถึงระบุว่าซื้อคอนโดมิเนียม ชื่อโครงการ ชื่อห้องชุด ซื้อโดยใคร ให้ระบุชื่อผู้ซื้อให้ชัดเจนด้วย

สำหรับข้อกำหนดเรื่องการโอนเงินนี้ไม่มีการยกเว้น แม้ว่าเขยต่างชาติจะมีใบอนุญาตการทำงาน(Work Permit) ในประเทศไทยหรือมีบัญชีธนาคารไทยก็ตาม 

3.รู้ว่าต้องมีเอกสารรับรองการโอนเงิน

เมื่อเขยต่างชาติโอนเงินจากธนาคารต้นทางต่างประเทศ มายังธนาคารไทยผู้รับปลายทางแล้ว ต้องแจ้งขอให้ทางธนาคารไทยออกหนังสือรับรองการโอนเงิน เพื่อยื่นแสดงที่สำนักงานที่ดินในวันโอนกรรมสิทธิ์ หลังจากนั้นเขยต่างชาติจะต้องได้รับเอกสารแสดงยอดเงินที่นำเข้าบัญชี (Credit Advice) จากธนาคารปลายทางเป็นหลักฐานการโอนเงินในแต่ละครั้ง 

หลังจากนั้น ทางโครงการคอนโดนั้นๆ จะต้องนำเอกสารแสดงยอดเงินที่นำเข้าบัญชี (Credit Advice)  ยื่นแจ้งกับธนาคารไทยผู้รับเงินปลายทางเพื่อขอ “หนังสือรับรองการโอนเงินต่างประเทศ” อีกครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินต่อไป ทั้งนี้มูลค่าเงินโอนต้องเทียบเท่าหรือมากกว่าราคาซื้อขายคอนโดห้องที่ต้องการ

4.รู้ว่าต้องลงนามรับรองเอกสารที่สถานกงสุล หรือ Notary Public

ในการดำเนินการซื้อขาย ยื่นเอกสารใดๆ เขยต่างชาติต้องดำเนินการด้วยตนเองขณะที่พักอยู่ในประเทศไทย แต่หากไม่สามารถเดินทางมาทำธุรกรรมด้วยตนเองได้เขยต่างชาติจะต้องไปลงนามรับรองเอกสารทุกอย่างที่ต้องใช้ที่สถานกงสุล หรือ Notary Public ณ สถานฑูตไทยประจำประเทศที่อาศัยอยู่ ทั้งนี้เอกสารทุกอย่างจะต้องได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยศูนย์การแปลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

 

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วการที่เขยต่างชาติอยากมีคอนโดหรือที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองก็อาจจะมีขั้นตอนยุ่งยากซักหน่อย แต่หากดำเนินการถูกต้องก็จะได้มีที่อยู่อาศัยที่ดีแน่นอน 

แต่หากเขยต่างชาติต้องการใช้เงินไทยแบบเร่งด่วน อยากแลกเงินต่างประเทศในจังหวัดนครราชสีมา (โคราช) สามารถมองหาร้านแลกเงินต่างประเทศ นครราชสีมา (โคราช) ได้ที่ร้านแลกเงินต่างประเทศ 12 Victory สาขาเซ็นทรัลพลาซาโคราช รอให้บริการคุณอยู่ที่ชั้น 3 ติดกับธนาคารทหารไทยธนชาต เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 – 20.00 น. 

แม่บ้านสายประหยัด หาตั๋วเครื่องบินยังไงให้ได้ราคาถูก

1.ติดตามเพจโปรโมชั่น แม่บ้านคนไหนเป็นสายโซเชียล เชื่อว่าการหาโปรตั๋วเครื่องบินราคาดีๆ จากเพจรวมโปรไม่น่าจะใช่เรื่องยากอะไร เพราะปัจจุบันก็มีแฟนเพจรวมโปรโมชั่นสายการบินเยอะแยะอัพเดตข้อมูลกัน

อ่านเพิ่มเติม»
แลกเงินเกาหลี

เกาหลีเกาใจ อยากไปทำงานต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

หากเอ่ยถึงประเทศสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้ หลายคนคงนึกถึงซีรีส์สนุกๆ วิวสวยๆ อาหารอร่อยๆ แต่อีกหลายคนคงนึกถึงการไปทำงานที่ได้ค่าแรงคุ้มค่าเหนื่อยแบบสุดๆ

อ่านเพิ่มเติม»
แลกเงิน,ไต้หวัน

เรื่องต้องรู้ ก่อนบินเดี่ยวหาเงินที่ไต้หวัน

หากคุณกำลังมีความคิดอยากไปใช้แรงงานอย่างถูกกฎหมายที่สาธารณรัฐจีนหรือ “ประเทศไต้หวัน”  นอกจากการเตรียมตัวด้านเอกสารที่ถูกต้อง เตรียมร่างกายแล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมทำความรู้จักกับไต้หวันให้มากขึ้นเพื่อให้การไปทำงานที่ไต้หวันของคุณราบรื่นตลอดรอดฝั่ง

อ่านเพิ่มเติม»

Like this article?

Share on Facebook
Share on Twitter

Leave a comment