ส่องค่าใช้จ่ายวันปีใหม่ของแต่ละประเทศ

Share on Facebook
Share on Twitter

หลังจากผ่านวันคริสต์มาส ปี 2021 แล้ว วันปีใหม่ 2022 ก็ตามมารอให้เราได้ฉลองกันอย่างต่อเนื่อง หากใครที่ได้เดินทางไปต่างประเทศในช่วงนี้คงได้เต็มอิ่มกับบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองที่เต็มไปด้วยความสุข แล้วคุณเคยสงสัยมั้ยว่าหลายๆ ประเทศที่ฉลองคริสต์มาสกันอย่างจริงจังนั้นนิยมซื้ออะไรเป็นของขวัญ และมีค่าใช้จ่ายในเทศกาลคริสต์มาสเป็นเงินเท่าไหร่ เรามาหาคำตอบไปพร้อมกัน ซึ่งหากใครอยากเดินทางไปเที่ยวในช่วงนี้มาแลกเงินกับเราได้ที่ร้านแลกเงิน Twelve Victory สาขาเซ็นทรัลพลาซานครราชสีมา (โคราช)

ประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลสำรวจจาก Gallup pollsters ระบุว่าเทศกาลคริสต์มาสเป็นเทศกาลที่ชาวมะกันเสียเงินมากที่สุด แน่นอนว่าพวกเขาเปย์หนักมากกับของขวัญที่มอบให้คนที่รักนั่นเอง นอกจากนี้ก็ยังมีเงินที่ใช้จ่ายสำหรับตกแต่งบ้านในเทศกาลคริสต์มาสอีกด้วย

ส่วนของขวัญที่ชาวมะกันมักมอบให้แก่คนรัก คนสำคัญในวันคริสต์มาสก็ได้แก่ ช็อคโกแลต,เงินสด,หนังสือ และ Gadget ประจำตัวอย่างไอโฟน ก็เป็นของขวัญที่ชาวมะกันนิยมมอบให้กันในวันคริสต์มาสเช่นกัน

ผลสำรวจยังบอกอีกว่าชาวอเมริกันจะเสียเงินซื้อของขวัญเฉลี่ยคนละ 942 เหรียดอลลาร์สหรัฐ (ราวๆ 31,700 บาท)

สหราชอาณาจักร

ชาวเมืองผู้ดีก็เป็นอีกชาติที่เสียเงินไปกับเทศกาลคริสต์มาสมากพอตัว แต่แตกต่างจากชาวมะกันตรงที่พวกเขาจะเสียเงินไปเพื่อการเฉลิมฉลองกับครอบครัว การตกแต่งบ้านและสร้างบรรยากาศมากกว่าการซื้อของขวัญ 

แต่การซื้อของขวัญให้กันก็ยังเป็นสิ่งที่พวกเขานิยมทำอยู่ดี โดยของขวัญที่มอบให้กันก็คือ ช็อกโกแลต,หนังสือ, เครื่องสำอางหรือน้ำหอม รวมถึงเงินสด ก็ถือเป็นของขวัญยอดนิยมเช่นกัน

สำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของชาวเมืองผู้ดีนั้น ผลสำรวจาก Deloitte forecasts ระบุว่าชาวสหราชอาณาจักรจะเสียเงินสำหรับเทศกาลคริสต์มาสเฉลี่ยคนละ 569 ปอนด์ (ราวๆ 25,500 บาท)

ญี่ปุ่น

สำหรับชาวแดนซากุระอาจจะไมได้ฉลองวันคริสต์มาสอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เพราะญี่ปุ่นมีวันขึ้นปีใหม่ที่เรียกกันว่าวัน ‘Shōgatsu’  ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นเทศกาลที่ชาวญี่ปุ่นจะเสียเงินมากที่สุด เนื่องจากพวกเขานิยมให้เงินขวัญถุงหรือที่เรียกกันว่า ‘Otoshidama’

สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้เป็นเงินขวัญถุงของชาวญี่ปุ่นที่ผู้ใหญ่มอบให้เด็กนั้น ผลสำรวจของ  Meikō Network Japan ระบุว่าอยู่ที่ 5,000 เยน (1,500บาท) และ 3,000 เยน (900 บาท) ตามลำดับ

ส่วนของขวัญที่เด็กวัยรุ่นนิยมมอบให้กันในช่วงวัน‘Shōgatsu’   ก็คือ ช็อกโกแลตรูปร่างต่างๆ, หนังสือการ์ตูนและวิดีโอเกม โดยงบประมาณสำหรับของขวัญเหล่านี้อยู่ที่ 2,000-50,000 เยน (600-15,000 บาท)

จีน

หลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าเทศกาลตรุษจีนหรือวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจันทรคติของชาวจีนนั้นยิ่งใหญ่แค่ไหน การใช้จ่ายในช่วงเทศกาลนี้จึงยิ่งใหญ่ไม่แพ้การเฉลิมฉลอง โดยผลสำรวจเรื่อง ‘China HNWI Gifting White Paper’ ของ Hurun Research Institute ระบุว่าชาวจีนกว่า 50% ใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนไปมากถึง 5,000 หยวน (ราวๆ 26,400 บาท)  ซึ่งเงินจำนวนนี้หมดไปกับการซื้อของขวัญทั้งให้ตัวเองและผู้อื่น 

สำหรับของขวัญที่ชาวจีนนิยมซื้อให้แก่ผู้อื่น ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ยาสูบ, ชา, ผลไม้, ลูกอม และการให้อั่งเปาก็ยังได้รับความนิยมอยู่ดี ซึ่งเงินแต๊ะเอียที่อยู่ในซองอั่งเปานั้นมีมูลค่าตั้งแต่ 100 -2,000 หยวน (ราวๆ 500-10,500 บาท )

ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงใครที่มีแผนเดินทางไปท่องเที่ยวตามประเทศต่างๆ ก็อย่าลืมเตรียมเงินของประเทศนั้นๆ ไปให้พร้อมสำหรับใช้จ่ายและการซื้อของขวัญให้กับคนสำคัญด้วย หากต้องการแลกเงินต่างประเทศ สามารถโทรเข้ามาสอบถามเรทราคากับทางร้าน Twelve Victory สาขาเซ็นทรัลพลาซานครราชสีมา (โคราช) ได้ก่อน เพื่อให้คุณได้เรทราคาที่ดีที่สุด ให้การใช้จ่ายของคุณคุ้มค่าที่สุด 

แม่บ้านสายประหยัด หาตั๋วเครื่องบินยังไงให้ได้ราคาถูก

1.ติดตามเพจโปรโมชั่น แม่บ้านคนไหนเป็นสายโซเชียล เชื่อว่าการหาโปรตั๋วเครื่องบินราคาดีๆ จากเพจรวมโปรไม่น่าจะใช่เรื่องยากอะไร เพราะปัจจุบันก็มีแฟนเพจรวมโปรโมชั่นสายการบินเยอะแยะอัพเดตข้อมูลกัน

อ่านเพิ่มเติม»
แลกเงินเกาหลี

เกาหลีเกาใจ อยากไปทำงานต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

หากเอ่ยถึงประเทศสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้ หลายคนคงนึกถึงซีรีส์สนุกๆ วิวสวยๆ อาหารอร่อยๆ แต่อีกหลายคนคงนึกถึงการไปทำงานที่ได้ค่าแรงคุ้มค่าเหนื่อยแบบสุดๆ

อ่านเพิ่มเติม»
แลกเงิน,ไต้หวัน

เรื่องต้องรู้ ก่อนบินเดี่ยวหาเงินที่ไต้หวัน

หากคุณกำลังมีความคิดอยากไปใช้แรงงานอย่างถูกกฎหมายที่สาธารณรัฐจีนหรือ “ประเทศไต้หวัน”  นอกจากการเตรียมตัวด้านเอกสารที่ถูกต้อง เตรียมร่างกายแล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมทำความรู้จักกับไต้หวันให้มากขึ้นเพื่อให้การไปทำงานที่ไต้หวันของคุณราบรื่นตลอดรอดฝั่ง

อ่านเพิ่มเติม»

Like this article?

Share on Facebook
Share on Twitter

Leave a comment